โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย

โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตของครอบครัว การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยขาดการใช้วิจารณญาณ ส่งผลให้แต่ละคนแยกตัวเองออกมาจากสังคมปกติ และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา อันเนื่องมาจากขาดวินัยในตนเอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เกิดความคิดเห็นแตกแยก โดยได้รับข้อมูลไม่ครบรอบด้าน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กลายเป็นปัญหาสังคมแบบไม่รู้จบ

ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาครัฐและเอกชน จึงได้จัดโครงการ “บรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งให้นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมเป็นนิสัย

การบรรพชาสามเณรทั่วไทย เป็นการสร้างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับเยาวชน หลังลาสิกขา จึงเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติ และเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อปลูกฝัง ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคี ในหมู่เยาวชน ให้มีจิตสาธารณะ, ใฝ่สันติ, และมีที่พึ่งอย่างแท้จริงในตนเอง
  2. เพื่อหล่อหลอมเด็กและเยาวชนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้เป็นคนดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์จนติดเป็นนิสัย
  3. เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่
  4. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนไทยรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมพหุวัฒนธรรม
  5. เพื่อตระหนักรู้ ในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทยและสามารถนำไปใช้ได้อย่างภาคภูมิ
  6. เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมชาวพุทธ และสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ไปใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างภาคภูมิ

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

  • ปี พ.ศ.2558 รุ่นทดลองนำร่อง ร้อยละ 10 ของนักเรียนชาย จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่การศึกษา
  • ปี พ.ศ.2559 จากเป้าหมายเชิงปริมาณปีการศึกษา พ.ศ.2557 ขยายเครือข่ายสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้น 3 – 5 เท่า

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

  1. เด็กและเยาวชนมีนิสัยดีด้านความสะอาด มีระเบียบ สุภาพ ตรงเวลา รักการนั่งสมาธิมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
  2. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมห่างไกลยาเสพติด อบายมุข ความก้าวร้าวรุนแรง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ และเป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์
  3. เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันตนเอง ปฏิบัติศีล 5 และรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
  4. สามเณรที่ผ่านการบรรพชา ร้อยละ 95 มีคุณลักษณะใฝ่ เรียนรู้ ใฝ่ ดี อยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้ มีทักษะการแก้ปัญหา มีทักษะในการทำงาน อยู่อย่างพอเพียง และมีพฤติกรรมที่ดีช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา

ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.2557 – พ.ศ.2559

  1. ระยะเวลาเตรียมการ ด้านการจัดหาทรัพยากรต่างๆ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ถึงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2559
  2. ระยะเวลาดำเนินการ
ลำดับที่ กิจกรรมหลัก พ.ศ.2557 พ.ศ.2558
1.  จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  มิถุนายน  มิถุนายน
2.  จัดอุปสมบทพระพี่เลี้ยง  โครงการฯ ดำเนินการ  โครงการฯ ดำเนินการ
3.  จัดอบรมพระวิทยากร พระพี่เลี้ยงและผู้ประสานงานศูนย์  โครงการฯ ดำเนินการ  โครงการฯ ดำเนินการ
4.  รับสมัคร คัดเลือก กลุ่มโรงเรียนเป้าหมาย อาทิ โรงเรียน V-Star, โรงเรียนในฝัน, โรงเรียนดีศรีตำบล และโรงเรียนทั่วไป  1 ส.ค. - 30 ก.ย.  1 ส.ค. - 30 ก.ย.
5.  สัมมนาชี้แจงโครงการ และรับสื่อฝึกนักเรียนเตรียมบวชเบื้องต้น (ตามวัน เวลา สถานที่ ที่กำหนด)  สิงหาคม - ตุลาคม  สิงหาคม - ตุลาคม
6.  ส่งใบสมัครนักเรียนเตรียมบวช  ภายใน วันที่ 25 ตุลาคม  ภายในวันที่ 24 ตุลาคม
7.  สัมมนา และรับสื่อฝึกอบรมนักเรียนเตรียมบวช  วันที่ 25 ตุลาคม  วันที่ 24 ตุลาคม
8.  โรงเรียนฝึกนักเรียนเพื่อเตรียมบวชตามกระบวนการหลักสูตร  พ.ย.57 - ก.พ.58  พ.ย.58 - ก.พ.59
9.  โครงการแจ้งศูนย์อบรมบรรพชาสามเณรให้ทุกโรงเรียนทราบ  มกราคม - กุมภาพันธ์  มกราคม - กุมภาพันธ์
ลำดับที่ กิจกรรมโครงการช่วงอบรมฯ พ.ศ.2557 พ.ศ.2558
10.  สามเณรพี่เลี้ยง (จบการศึกษาชั้น ม.2 - ม.6) เข้าอบรม  วันที่ 7 มีนาคม  วันที่ 9 มีนาคม
11.  สามเณรพี่เลี้ยง (จบการศึกษาชั้น ม.2 - ม.6) บรรพชา  วันที่ 14 มีนาคม  วันที่ 16 มีนาคม
12.  นักเรียนเตรียมบวช (จบการศึกษาชั้น ป.2 - ม.1) เข้าอบรม  วันที่ 23 มีนาคม  วันที่ 23 มีนาคม
13.  สามเณรทั่วไทยรวมใจเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา  วันที่ 4 เมษายน  วันที่ 2 เมษายน
14.  สิ้นสุดการอบรม  วันที่ 23 เมษายน  วันที่ 23 เมษายน
15.  สรุปผลการประเมินโครงการ  วันที่ 30 พฤษภาคม  วันที่ 30 พฤษภาคม

 

หมายเหตุ: กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนการทำงาน

  1. จัดตั้งคณะกรรมการหลายภาคี ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายหลักสูตรการฝึกอบรม ฝ่ายผลิตและพัฒนาสื่ออบรม ฝ่ายจัดหาเงินทุนสนับสนุนโครงการ ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายพัฒนาพระวิทยากรและพี่เลี้ยง ฝ่ายจัดหาอัฐบริขาร ฝ่ายวิจัยและสรุปผลการประเมินโครงการ ฯลฯ
  2. นำเสนอโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดการประชุมชี้แจงผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ในช่วงวันหยุดราชการ
  4. จัดประชุมเตรียมการ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงที่มีจิตอาสาช่วยงานฝึกอบรมสามเณรในพื้นที่
  5. รับสมัครเด็กและเยาวชนที่สมัครใจบรรพชาในแต่ละปี
  6. เตรียมความพร้อมศูนย์ฝึกอบรมแต่ละอำเภอ / ตำบล
  7. จัดตั้งทีมฝึกอบรมให้สอดคล้องกับจำนวนสามเณร และจำนวนศูนย์ฝึกอบรม
  8. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ โสต สื่อ อัฐบริขาร ทุนสนับสนุนโครงการ
  9. ดำเนินการอบรมเตรียมการก่อนบวช
  10. บรรพชาสามเณรรุ่นต่างๆ
  11. ฝึกอบรมตามหลักสูตร
  12. ติดตามประเมินผล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา / หน่วยงานทางการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ
  • หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

เนื้อหาหลักสูตรฝึกเตรียมความพร้อมก่อนการอบรมสามเณร

การฝึกอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ณ สถานศึกษาของตนเอง ในช่วงภาคการศึกษาที่ 2 / 2557 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการเข้ารับการอบรมสามเณรภาคฤดูร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

ภาคทฤษฎี

ศึกษา พุทธประวัติ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเบื้องต้น ประวัติสามเณรในสมัยพุทธกาล ข้อวัตรปฏิบัติของสามเณร ฯลฯ ผ่านสื่อมัลติมิเดียที่จัดทำเป็นหลักสูตรและชั่วโมงเรียนรู้ของโครงการสัปดาห์ละ 1 คาบเรียน

ภาคปฏิบัติ

นักเรียนชายที่จะเข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรฯ จะได้รับสมุดบันทึกกิจกรรมความดี โดยมีเนื้อหาภาพรวม ดังนี้

  1. บทฝึกกิจวัตรความดี ในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่นอนตื่นสาย ตื่นขึ้นมาเก็บที่นอนทันที, ฝึกรักษาศีล 5, ฝึกรักษาศีล 8 ในวันพระ, ช่วยเหลืองานบ้านและงานโรงเรียน เป็นต้น
  2. ฝึกซ้อมคำกล่าวบทขานนาค คำขอสรณคมน์และศีล
  3. ฝึกกิจกรรมการทำงานเป็นทีม การมีระเบียบวินัย การอยู่ร่วมในสังคม และกิจกรรมทางศาสนพิธี เป็นต้น

เนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมสามเณร

การฝึกอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับวัย ความสนใจและวิธีการเรียนรู้ และมีสื่อการเรียนรู้ประกอบการอบรม พร้อมการวัดประเมินผล กล่าวโดยสรุปมีหัวข้อเรื่อง ดังนี้

ภาคทฤษฎี

พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก – พุทธสาวิกา หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ฯลฯ

ภาคปฏิบัติ

  1. การสวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น
  2. การฝึกทำสมาธิให้เกิดปัญญา
  3. การออกเดินบิณฑบาตโปรดญาติโยม
  4. กิจกรรมการออกกำลังกาย
  5. กิจกรรมการทำความสะอาดเสนาสนะแบบจิตอาสา
  6. กิจกรรมการหล่อหลอมพุทธบุตร
  7. กิจกรรมกลุ่ม “1 โครงการพัฒนาคุณธรรมเพื่อนช่วยเพื่อน” หลังจากลาสิกขากลับไปโรงเรียน
  8. กิจกรรมการเดินธุดงค์ แสวงบุญพัฒนาวัด และกิจกรรมสร้างกระแสศีลธรรมในชุมชน

สื่อการเรียนรู้

  1. คู่มือบริหารจัดการฝึกอบรม
  2. คู่มือประจำตัวสามเณร บทสวดมนต์
  3. DVD ประกอบการสอนตามหลักสูตร เช่น Animation, ภาพถ่ายจากสถานที่จริงในสังเวชนียสถาน 4 แห่ง, PowerPoint เป็นต้น
  4. หนังสืออ่านประกอบประจำศูนย์
  5. แฟ้มสะสมผลงานสามเณร (Portfolio)
  6. กระดาษ อุปกรณ์เครื่องเขียน
  7. คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องฉายภาพ จอรับภาพ โทรทัศน์ ฯลฯ
  8. แบบประเมิน ข้อสอบวัดความรู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เด็กและเยาวชนได้ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนา ปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะปฏิบัติด้านความมีวินัย เคารพ อดทน อย่างยั่งยืน
  4. เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่ดี สอดคล้องกับจุดเน้นมาตรการ และตัวชี้วัดความสำเร็จกลยุทธ์ที่ 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  5. ชุมชนมีความรัก ความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของเด็กและเยาวชน

การประสานงานในโครงการฯ

  • วันเวลาทำการ: ทุกวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00 – 11.00 น. และ 13.00 – 17.00 น.
  • ที่อยู่: โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย อาคารชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ เลขที่ 23/2 หมู่ 7 ตำบลคลองสาม อำคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • e-mail: [email protected]
  • โทรศัพท์: (ส่วนกลาง)  099-286-5620, 099-286-5621

สิ่งที่สถานศึกษาจะได้รับ

เมื่อสถานศึกษาได้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ สถานศึกษาจะได้รับสิทธิ์พิเศษ ดังนี้

  1. ชุดสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อฝึกนักเรียนเตรียมพร้อมเข้ารับการอบรมสามเณร
  2. ทุนสำหรับดำเนินการโครงการฯ
  3. ใบเกียรติบัตร สำหรับทุกสถานศึกษา ผู้บริหาร และครูผู้ประสานงานที่เข้าร่วมโครงการฯ
  4. โล่เกียรติยศ จะมอบสำหรับสถานศึกษาที่ปฏิบัติตามขั้นตอนโครงการฯ ได้ครบถ้วน และมีนักเรียนมาบรรพชาสามเณร อย่างน้อย 1 ทีม (45 รูป) ขึ้นไป
  5. ใบวุฒิบัตร สำหรับนักเรียนที่ผ่านการฝึกอบรมสามเณรครบตามกำหนดในโครงการฯ
  6. หนังสือรับรองการเทียบโอนหลักสูตรการเรียนรู้ในการฝึกอบรมสามเณร กับรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา  ศีลธรรม จริยธรรม จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

การรับทุนสำหรับดำเนินโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย

สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และปฏิบัติตามระเบียบการได้ครบถ้วน จะได้รับทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

  1. รับทุนดำเนินการครั้งที่ 1 จำนวน 3,000 บาทต่อทีม (45 คน) เมื่อส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย และใบสมัครนักเรียนเตรียมบวช พร้อมลายเซ็นอนุญาตจากผู้ปกครอง ภายในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2557
  2. รับทุนดำเนินการครั้งที่ 2 เมื่อนักเรียนเตรียมบวชของท่าน ได้บวชบรรพชาเป็นสามเณร และเข้าร่วมงาน “สามเณรทั่วไทยรวมใจเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา” รับทุนดำเนินการเพิ่มอีก 4,000 บาทต่อทีม (45 คน)

สำหรับสถานศึกษาที่สามารถพานักเรียนเตรียมบวช มาบรรพชาเป็นสามเณร และมาร่วมงาน “สามเณรทั่วไทยรวมใจเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา” ได้มากกว่า 1 ทีม (45 คน) คณะกรรมการฯ จะพิจารณาเพิ่มทุนดำเนินการให้ 1 ทุน ต่อสามเณรที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 45 รูป ตัวอย่างเช่น

  • สามเณร 1 ทีม (45 รูป) ได้รับทุนดำเนินการฯ จำนวน 1 ทุน
  • สามเณร 2 ทีม (90 รูป) ได้รับทุนดำเนินการฯ จำนวน 2 ทุน
รายละเอียดการดำเนินการสำหรับโรงเรียน จำนวนทุน

 1. สมัครเข้าร่วมโครงการ

  • ส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการ (สณ.02)
  • ส่งใบสมัครนักเรียนเตรียมบวช พร้อมลายเซ็นผู้ปกครอง (ภายในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2557)
 3,000 บาท / ทีม
 2. นักเรียนเตรียมบวช ได้บรรพชาเป็นสามเณร และมาร่วมงาน "สามเณรทั่วไทยรวมใจเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา"  4,000 บาท / ทีม
รวมทุนดำเนินโครงการทั้งสิ้น  7,000 บาท / ทีม

 

หลักฐานที่ต้องเตรียมเพื่อรับทุน

  1. ใบสมัคร สณ.02
  2. ใบสมัครนักเรียนบรรพชาสามเณร 45 คน / ทีม
  3. แนบสำเนาหน้าสมุดบัญชี ธนาคารกรุงไทย (สำหรับโอนทุนในการดำเนินการ)
  4. แนบสำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ ของผู้บริหารหรือครูผู้ประสานงานโครงการ พร้อมลายเซ็น ชื่อ – สกุล (เขียนด้วยลายมือเท่านั้น) และเขียนข้อความ “สำนาถูกต้อง”

บทความอื่นๆในหมวดนี้