วันคุ้มครองโลก
ชนวนความคิดเรื่องวันคุ้มครองโลกเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยสมาชิกวุฒิสภา เกย์ลอร์ด เนลสัน (Senator Gaylord Nelson) ซึ่งต่อมาก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งวันคุ้มครองโลกได้สำเร็จ ก่อนที่ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเข้าไปสู่ความสนใจของประชาคมโลก พลเมืองโลกระดับรากหญ้า ได้ตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปอย่างเด่นชัดเป็นอย่างดี ในทางกลับกันนักการเมืองระดับประเทศกลับมองไม่เห็น ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า หัวข้อเรื่องสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จะไม่เคยได้รับการบรรจุเข้าไปในวาระการประชุมทางการเมืองระดับชาติเลย อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการกำหนดให้มีวันคุ้มครองโลกขึ้นก็มีความผันแปรเรื่อยมา จากครั้งแรกที่มีการนำเสนอตลอดระยะเวลา 7 ปีของการรณรงค์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ได้ตัดสินใจจัดให้มีการชุมนุมประชากรระดับรากหญ้าทั่วประเทศขึ้น เพื่อแสดงความคิดเห็นในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และได้เชิญชวนทุกๆ คนให้เข้าร่วมในการชุมนุมดังกล่าว ผลจากความห่วงใยเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ของคนในสังคมขณะนั้น ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมในครั้งนั้น ซึ่งเป็นที่ปรากฏชัดว่า กิจกรรมชุมนุมดังกล่าวเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จอันงดงามของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้น ในที่สุด วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 “วันคุ้มครองโลก” ก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก นิตยสาร อเมริกัน เฮริเทจ (American Heritage Magazine) ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตย” ดังนั้นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงได้รับการผลักดันให้เข้าไปเป็นประเด็นหลักทางการเมืองระดับชาติ และได้รับการคุ้มครองโดยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และโครงการบริหารจัดการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญยังคงมีอยู่ว่า จนถึงวันนี้ โลกใบนี้ได้ปลอดจากภัยคุกคามโดยสิ้นเชิงแล้วหรือ? คำตอบที่เห็นได้ชัดก็คือ โลกยังไม่ปลอดภัย เช่น ภัยจากสงคราม, อาชญากรรม, ภัยธรรมชาติ, ปัญหายาเสพติด, โรคเอดส์ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสี่ยงต่อการที่จะนำโลกไปสู่การล่มสลายในที่สุด อย่างไรก็ตาม ประชากรโลกก็กำลังช่วยกันแสวงหาวิธีการที่จะยับยั้งภัยคุกคามดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเนื่องจากปัญหาเหล่านั้นเป็นปัญหาที่ท้าทาย ที่ไม่สามารถใช้วิธีแก้ไขที่ปลายเหตุได้ บางปัญหาพวกเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นเสียเอง! แนวคิดในการแก้ปัญหาแบบหาต้นเหตุของปัญหา เพื่อกำจัดที่ต้นเหตุนั้นสอดคล้องกับปรัชญาแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธมองปัญหาทุกปัญหาว่าเกิดขึ้นเบื้องแรกเลยที่จิตใจ
ชาวพุทธเชื่อว่าผู้ที่มีการกระทำที่ดีโดยทั่วไปแล้ว เป็นผู้ที่มีจิตใจดีด้วย อย่างไรก็ตามจิตใจดีไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า บุคคลผู้นั้นได้ฝึกหัดขัดเกลาจิตใจเพื่อให้จิตใจนั้นเป็นจิตใจที่ดี โดยวิธีลัดนั้นคือ พระพุทธธรรม มุ่งสอนให้ฝึกใจเป็นอันดับแรก ผ่านการ “ทำสมาธิ” นั่นเอง สมาธิ ทำให้ผู้ฝึกมีจิตที่สงบ เมื่อฝึกสมาธิจนใจสงบแล้ว จิตจะมีพลัง และสามารถแผ่ขยายได้โดยมีไม่มีขีดจำกัดไปพร้อมๆ กับสันติสุข ความกรุณา และปัญญา นี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมชาวพุทธจึงมองว่า ใจเป็นกุญแจสำคัญที่จะสร้างสันติภาพโลกได้ ดังสโลแกนของมูลนิธิธรรมกายที่ว่า “สันติภาพโลก เกิดจากสันติสุขภายใน” มูลนิธิธรรมกาย โดย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องการสอนสมาธิให้แก่บุคคลทั่วไป การฝึก “สมาธิวิชชาธรรมกาย” จากการค้นพบโดยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จึงได้แพร่หลายมาเป็นเวลาต่อเนื่องกว่า 80 ปี ยิ่งไปกว่านั้นมูลนิธิธรรมกาย ยังได้จัดให้ วันที่ 22 เมษายน ของทุกปีมีการเฉลิมฉลอง “วันคุ้มครองโลก” ขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิและศูนย์สาขาทั่วโลกโดยพร้อมเพรียงกัน ท่ามกลางมหาชนเรือนแสนจากทั่วโลก แม้คนจะมาก แต่บรรยากาศจะสงบศักดิ์สิทธิ์สง่างาม ทำให้เกิดความรู้สึกทันทีว่า โลกแห่งสันติภาพ มีจุดกำเนิดจากใจที่เป็นสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการปฏิบัติสมาธิของผู้คนจำนวนมากๆ
อานิสงส์การสร้างพระธรรมกายประจำตัว
วันคุ้มครองโลกประจำปีปีพุทธศักราช 2549 ที่วัดพระธรรมกาย จะมี “พิธีหล่อพระธรรมกายประจำตัว” องค์พระปฏิมากรจำนวนมากถึง 100,000 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งในอนาคต จะเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม รองรับชาวโลกนับล้านคน ที่จะมาทำสมาธิพร้อมๆ กัน เพราะเราเชื่อว่า “สันติภาพของโลก เริ่มจากสันติสุขภายใน” (World Peace Through Inner Peace.) มูลนิธิธรรมกายจึงขอถือโอกาสนี้เชิญชวนทุกท่านมาเยี่ยมเยือน “ศูนย์กลางธรรมกายแห่งโลก”"; ณ วัดพระธรรมกายแห่งนี้ด้วยตัวของท่านเอง และมาร่วมกิจกรรมวันคุ้มครองโลก 22 เมษายนในปีนี้ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสประสบการณ์ “วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ” ที่สงบงามตามแบบฉบับของชาวพุทธ และความอบอุ่นเป็นกันเอง อันเป็นเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมไทย
09.30 น. | สวดมนต์ทำวัตรเช้า, พระราชภาวนาวิสุทธิ์นำนั่งสมาธิ |
11.00 น. | พิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน |
13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
14.00 น. | พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นำสาธุชน 100,000 คน นั่งสมาธิ "กลั่นแผ่นดิน มหารัตนวิหารคด" |
14.45 น. | ถวายไทยธรรม แด่พุทธบุตร 10,000 วัดทั่วประเทศ ยาว 1 โยชน์ (16 กิโลเมตร) ฟัง “ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร” จากคณะสงฆ์ |
17. 00 น. | นั่งสมาธิร่วมกัน และประกอบพิธีหล่อพระธรรมกายประจำตัว 100,000 องค์ ประดิษฐานภายในมหาธรรมกายเจดีย์ ณ ศูนย์กลางธรรมกายแห่งโลก |
18. 00 น. | ผู้ร่วมงาน รับมอบเหรียญของขวัญอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ระลึก |
18. 30 น. | เสร็จพิธี |
ประมาลภาพ
ยินดีต้อนรับสู่บุญสถาน ในวันคุ้มครองโลก
พระภิกษุ และสาธุชนกว่าแสนคน ร่วมสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย และปฏิบัติธรรม
พระภิกษุและสามเณรส่วนหนึ่ง จากจำนวน 50,000 รูป แปรแถวเข้าอาสนะ
พระภิกษุสงฆ์ และสาธุชน นั่งสมาธิกลั่นใจ ก่อนประกอบพิธีถวายสังฆทาน
สาธุชนเรือนแสน ถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์จากทั่วประเทศกว่า 10,000 วัด
พระมหาเถระนำขบวนสาธุชน "เวียนประทักษิณ" มหารัตนวิหารคด
คลื่นสาธุชน ร่วมกันเวียนประทักษิณ มหารัตนวิหารคด เนื่องในวันคุ้มครองโลก
สาธุชนผู้มีบุญนับแสนคน พร้อมกัน ณ ลานธรรม เพื่อประกอบพิธีหล่อพระธรรมกายประจำตัว 100,000 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ มหาธรรมกายเจดีย์
มหาสุวรรณนิธิ เป็นเนื้อทองหล่อพระธรรมกายประจำตัว เพื่อประดิษฐาน ณ ภายในมหาธรรมกายเจดีย์ ถูกทอดลงบนรางส่งไปสู่เตาหลอม
พลุสันติภาพ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย เพื่อเฉลิมฉลองวันคุ้มครองโลก พุทธศักราช 2549