โครงการตักบาตรพระหนึ่งล้านรูป ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

โครงการตักบาตรพระหนึ่งล้านรูป ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม

บุญใหญ่แห่งปี พ.ศ.2555 “ตักบาตรพระหนึ่งล้านรูป” ถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ธรรม วันที่ 10, 11, 17, 18, 24, 25 มีนาคม พ.ศ.2555 สะพานใหม่ ตลาดยิ่งเจริญ, เกษตร – รัชโยธิน, บริเวณห้าแยกลาดพร้าว – สี่แยกสะพานควาย, ประตูน้ำ เซ็นทรัลเวิลด์, เยาวราช และวงเวียนใหญ่

โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป "ถวายเป็นพุทธบูชา" ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม

หลักการและเหตุผล

การทำบุญตักบาตรต่อพระภิกษุ สามเณร สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอริยประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุ สามเณร ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ เป็นแบบแผนอันดีของบรรพบุรุษไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาแห่งเหตุและผลที่นำมาซึ่งสันติสุขอย่างแท้จริง โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย เพื่อช่วยเหลือคณะสงฆ์ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ประสบภัยทั่วประเทศ ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2551 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกจังหวัด ด้วยความร่วมมือของคณะสงฆ์, องค์กรทางพระพุทธศาสนา, หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จนถึงปัจจุบัน (เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555) ได้จัดตักบาตรในจังหวัดต่างๆกว่า 450 ครั้ง จำนวนพระภิกษุประมาณ 900,000 รูป ปีพุทธศักราช 2555 เป็นปีครบ 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงเทศนา สั่งสอน โปรดสรรพสัตว์ 45 ปี จวบจนปรินิพพาน และหลังปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน อีก 2,555 ปี) 2,600 ปีที่โลกได้รับการคุ้มครองด้วยธรรมะ จึงสมควรที่ชาวพุทธทั่วโลกจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลอง ด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ให้ยิ่งๆขึ้นไป ในโอกาสฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรุงเทพมหานคร, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ ร่วมกับเครือข่ายชาวพุทธ และหน่วยงานสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ร่วมใจกันจัดตักบาตรพระ จำนวน 6 ครั้ง กว่า 100,000 รูป ในเขตชุมชน กรุงเทพมหานคร ตลอดเดือนมีนาคม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และร่วมฉลองตักบาตร ครบ 1,000,000 รูป ในวาระพิเศษนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  2. เพื่อฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
  3. เพื่อช่วยเหลือคณะสงฆ์ 286 วัด และพุทธบริษัทใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั่วประเทศ
  4. เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ส่งเสริมวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง สืบสานอริยะประเพณีการตักบาตร ให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
  5. เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้พ่อ, แม่, ลูก มีกิจกรรมที่สร้างความอบอุ่น โดยมาทำบุญใหญ่ร่วมกัน ปลูกฝังศีลธรรมให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป

เป้าหมาย ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10,000,000 คน

ระยะเวลาจัดงาน

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2555 : ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ – ซอยฝนทอง 1 (ถนนพหลโยธิน)

ตักบาตรพระ 12,600 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 083-540-4959, 085-120-7127)

 

  วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2555 : สี่แยกเกษตร – สี่แยกรัชโยธิน (ถนนพหลโยธิน)

ตักบาตรพระ 12,600 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 083-540-5617, 081-208-0775)

 

  วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2555 : บริเวณห้าแยกลาดพร้าว – สี่แยกสะพานควาย (ถนนพหลโยธิน)

ตักบาตรพระ 12,600 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 082-565-4000, 081-349-8462)

 

  วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2555 : แยกมักกะสัน – แยกประตูน้ำ – แยกราชประสงค์, สกายวอล์ค ชิดลม – สยาม

ตักบาตรพระ 22,600 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 089-459-0777, 081-401-7572)

 

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2555 : ถนนเยาวราช (แยกวังบูรพา – วงเวียนโอเดียน) ถนนเจริญกรุง (แยกสามยอด – วงเวียนโอเดียน)

ตักบาตรพระ 30,000 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 089-679-8899, 081-398-5132)

 

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2555 : ถนนลาดหญ้า (วงเวียนใหญ่ – แยกคลองสาน) ถนนอิสรภาพ (สี่แยกบ้านแขก – แยกซุ้มประตูไทยซิกข์)

ตักบาตรพระ 22,600 รูป (สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 085-909-0577, 086-883-1414)

 

ที่ปรึกษาโครงการ

  1. ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร
  2. ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
  3. ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  4. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  5. ประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
  6. ประธานสหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ
  7. ประธานชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

  1. คณะสงฆ์
  2. กรุงเทพมหานคร
  3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  4. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  5. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
  6. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ
  7. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย

องค์กรสนับสนุนการจัดงาน

  1. สมาคมคนรักบ้าน
  2. สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว
  3. ชมรมอุบาสิกาแก้ว
  4. ชมรมพ่อค้าแม่ค้าประตูน้ำ
  5. ชมรมครอบครัวอบอุ่น
  6. สมาคมสร้างสรรค์สังคมไทย
  7. สมาคมส่งเสริมความดีสากล
  8. สมาคมพุทธบุตร 60
  9. สมาคมสมาธิเพื่อการพัฒนาศีลธรรมโลก
  10. สมาคมสื่อสร้างสรรค์เยาวชน
  11. สมาคมเรียนรู้คู่รอยยิ้ม
  12. สมาคมพัฒนาการเรียนรู้
  13. สมาคมรัตตัญญู
  14. สมาคมแสงระวี
  15. สมาคมส่งเสริมสร้างความดี
  16. สมาคมพัฒนาชุมชนสดใส
  17. สมาคมรวมใจไทยปทุม
  18. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
  19. สมาคมรวมใจไทยร่มเย็น
  20. สมาคมเพื่อนแพทย์ไร้พรมแดน
  21. สมาคมพุทธศาสตร์สัมพันธ์
  22. สมาคมเศรษฐีธรรม
  23. สมาคมพุทธรักษา
  24. สมาคมพุทธศาสตร์ล้านนา
  25. สมาคมวิทยุและโทรทัศน์กล้าตะวัน
  26. ชมรมบ้านแก้ว
  27. สมาคมครอบครัวสดใส
  28. สมาคมบัณฑิตสดใส
  29. สมาคมพัฒนาชาติร่มเย็น
  30. สมาคมชาวไทยเชื้อสายจีน
  31. ชมรมดุสิตร่วมใจ
  32. สมาคมสร้างสรรค์สันติภาพ
  33. สมาคมคนรักษ์พุทธศาสน์
  34. สมาคมส่งเสริมศีลธรรมและความดีสากล
  35. สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 – 2
  36. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
  37. สภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์
  38. มูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ
  39. สมาคมบัณฑิตรัตน์

หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ

  1. หน่วยงานการกุศล เช่น มูลนิธิ, สมาคม, สโมสร, ชมรมต่างๆ
  2. ภาคเอกชน เช่น โรงแรม, บริษัททัวร์, บริษัท, ห้างร้าน ฯลฯ
  3. หน่ายงานภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ, สถานการศึกษา ฯลฯ
  4. ประชาชนทั่วไป

งบประมาณดำเนินการ ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบริจาค หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เครือข่ายองค์กรพุทธศาสนา ฯลฯ วิธีดำเนินงาน

  1. จัดทำโครงการแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  2. ประสานงานโครงการกับหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร, พื้นที่, งบประมาณ, วิธีการเตรียมรายละเอียดงานกิจการคณะสงฆ์ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนชาวไทยได้สร้างบุญใหญ่ร่วมกัน ได้ตระหนักในหน้าที่ของชาวพุทธ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศ สร้างความศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ศีลธรรมโลกได้รับการฟื้นฟู
  2. วัฒนธรรมชาวพุทธเข้มแข็ง ก่อให้เกิดความมั่นคงของประเทศชาติ เกิดความสงบสุขขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วผืนแผ่นดินไทย
  3. สืบสานอริยประเพณีการตักบาตร และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
  4. สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง พ่อ, แม่, ลูก มีกิจกรรมร่วมกันในการร่วมสร้างบุญใหญ่ เกิดความสามัคคี ความร่มเย็นแก่สังคมและประเทศชาติ

สถานที่ติดต่อประสานงาน ศูนย์ประสานงานกลาง โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป เลขที่ 40 หมู่ 8 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี หมายเลขโทรศัพท์ 082-458-4222, 083-084-2072 โทรสาร 02-524-0270 โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ไม่ใช่เป็นเพียงโครงการนำร่อง อย่างที่เข้าใจกันเท่านั้น แต่เป็นโครงการต้นแบบที่พร้อมจะพัฒนาเป็นประเพณีสำคัญของชาวพุทธต่อไปในอนาคต เพราะการ “ให้ทาน” นับเป็นก้าวแรกของการปลูกฝังคุณธรรมขั้นพื้นฐาน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกระดับชั้น และถือเป็นหน้าที่สำคัญของพวกเราชาวพุทธทุกคน ในการอุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

ตักบาตรพระฉลองพุทธชยันตี

 

คำค้น
1
บทความอื่นๆในหมวดนี้